การพัฒนารูปแบบของชุดสื่อกิจกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากอุบัติเหตุทางท้องถนนมีเป้าหมายหลักใน 3 มิติ คือ ด้านทัศนคติ การคิดและทักษะ ผ่านการใช้ยุทธศาสตร์น้ำดีไล่น้ำเสีย คือการคิดเชิงระบบจากการใช้หลักเหตุและผลเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องในสถานการณ์ทางถนนที่ไม่คาดฝัน การเป็นผู้ไม่ประมาท มีนิสัยระมัดระวังไม่ติดกับนิสัยไม่เป็นไร และการฝึกฝนทักษะที่พาไปสู่เป้าหมาย ผ่านการวางแผนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น จากการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัญญาณและสัญลักษณ์จราจร การตระหนักรู้จักสังเกตในพื้นที่รอบตัวและลักษณะของสภาพภูมิอากาศที่จะมีผลต่อการเดินทาง การมีทักษะการเดินถนนที่ถูกวิธีและปลอดภัย (เช่น กระบวนการ หยุด ยก ดู ฟัง คิด) การรู้วิธีการใช้อุปกรณ์สร้างความปลอดภัยขณะนั่งรถ (เช่น การคาดเข็มขัดนิรภัย และการใส่หมวกกันน็อก)


องค์ประกอบการสร้างจิตสำนึกด้านความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางท้องถนนของชุดสื่อกิจกรรมสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น
กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันจากการพนันสำหรับเด็กวัยประถมศึกษาตอนต้นที่ทางโครงการจัดขึ้น ได้แก่
- ถ้ำจราจร
- ปริศนาเดินทางของหุ่นยนต์
- เฟรมรูปบอกความเสี่ยง
- ไข่ไขความลับหมวกกันน็อก
- เข็มขัดคาดชีวิต
- Smart Car Smart Road
- การสร้างเมืองปลอดภัยจากแม่เหล็ก แป้งโดว หุ่นมือจราจร
- แต่งรถมหัศจรรย์
- จินตนาการจราจร
- ความลับในบัตรภาพ
- ออกแบบเมืองปลอดภัย
- เล่นสมมติในสถานการณ์จำลอง
คณะทำงานได้ออกแบบหน่วยการเรียนที่สามารถเรื่องโยงกับเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุทางถนนสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้นผ่านการเรียนรู้ผ่านการเล่น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ตามหลักสูตรของประเทศฟินแลนด์พบว่า ถ้าให้เด็กเล่นโดยไม่รู้วัตถุประสงค์ของการเล่นโดยเฉพาะในช่วงของการเล่นอิสระจะทำให้เด็กเล่นโดยไม่คิดจะเล่นเพื่อเรียนรู้ (Sintonen, Ohls, Kumpulainen, & Lipponen, 2015, p. 8) จึงควรจัดกิจกรรมพัฒนาสติรู้ตัวให้เป็นการเล่นแบบมีเป้าหมาย (goal-oriented) คือ ให้เด็กรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ทำไมจึงทำเช่นนี้ (Sandberg et al., 2015)