-
หลักการของโครงการพัฒนาจิตสำนึก
การมีภูมิคุ้มกันต่อความปลอดภัย
ในท้องถนนในเด็ก -
หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ความบังเอิญและจากความประมาท
ซึ่งเด็กเล็กซึ่งยังเป็นวัยที่ยังไม่สามารถประสานสัมพันธ์การใช้ร่างกายได้เท่าที่ควร ประกอบกับการเป็นวัยที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการตัดสินใจ (emotional-based learning)
ทำให้การตัดสินใจในการทำอะไรผิดพลาดและอาจมีผลต่อการบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือแม้แต่ตนเองอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่นอุบัติเหตุ! -
อุบัติเหตุประเภทหนึ่งที่พบมากคืออุบัติเหตุจากท้องถนน
จากรายงานของ World Health Organization [WHO] และ The United Nations Children’s Fund [UNICEF] ปี ค.ศ. 2008 (Toner & Scott, 2008) รายงานว่าอัตราการตายจากอุบัติเหตุในเด็กพบประมาณ 830,000 คนต่อปี เฉลี่ยวันละ 2,000 คนทั่วโลก ยังไม่รวมรายที่ได้รับบาดเจ็บแล้วไม่เสียชีวิต แต่อาจพิการตลอดชีวิต
รายงาน ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ. 2556 พบว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงขี้นเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากประเทศนีอูเอ และ สาธารณรัฐโดมินิกัน และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (วิทยา ชาติบัญชาชัย, 2556)
ส่วนในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศนามิเบีย
นอกจากนี้พบว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนเป็น สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 8 ของโลก ส่วนใหญ่เกิดกับเด็ก และเยาวชนอายุระหว่าง 15-29 ปี
หากไม่มีการจัดการ เรื่องความปลอดภัยทางถนน คาดว่าจะมีเด็กและเยาวชน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จะเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของการเสียชีวิต ของคนทั้งโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 (วิทยา ชาติบัญชาชัย, 2556) -
อุบัติเหตุประเภทหนึ่งที่พบมากคืออุบัติเหตุจากท้องถนน
จากรายงานของ World Health Organization [WHO] และ The United Nations Children’s Fund [UNICEF] ปี ค.ศ. 2008 (Toner & Scott, 2008) รายงานว่าอัตราการตายจากอุบัติเหตุในเด็กพบประมาณ 830,000 คนต่อปี เฉลี่ยวันละ 2,000 คนทั่วโลก ยังไม่รวมรายที่ได้รับบาดเจ็บแล้วไม่เสียชีวิต แต่อาจพิการตลอดชีวิต
รายงาน ความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ. 2556 พบว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงขี้นเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากประเทศนีอูเอ และ สาธารณรัฐโดมินิกัน และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (วิทยา ชาติบัญชาชัย, 2556)
ส่วนในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศนามิเบีย
นอกจากนี้พบว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนเป็น สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 8 ของโลก ส่วนใหญ่เกิดกับเด็ก และเยาวชนอายุระหว่าง 15-29 ปี
หากไม่มีการจัดการ เรื่องความปลอดภัยทางถนน คาดว่าจะมีเด็กและเยาวชน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จะเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของการเสียชีวิต ของคนทั้งโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 (วิทยา ชาติบัญชาชัย, 2556) -
จากการรวบรวมสถิติข้อมูล เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุของเด็ก อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี
ในปี พ.ศ. 2555 พบว่ามีเด็ก เจ็บป่วยฉุกเฉินและประสบอุบัติเหตุทั้งสิ้น 87,456 คน ซึ่งอันดับหนึ่ง คือ อุบัติเหตุยานยนต์ มีถึง 24,439 คน เทียบกับอุบัติเหตุด้านอื่น เช่น พลัดตกหกล้ม 7,619 คน ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 444 คน จมนำ้และบาดเจ็บทางน้ำ 392 คน และการสำลักอุดกั้นทางเดินหายใจ 93 คน
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2556 พบว่า มีเด็กบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทั้งสิ้น 899,817 คน เป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุ จราจร มากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 319,794 คน (อนุชา เศรษฐเสถียร, 2557) และสถิติจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศูนย์ข้อมลูข่าวสาร ด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย, 2557) พบว่าในปี พ.ศ. 2557 เด็กไทยมีการบาดเจ็บฉุกเฉินจากอุบัติเหตุยานยนต์มากที่สุดถึง 318,379 ครั้ง -
ตัวชี้วัดของ Gitel et. al ระบุว่า
ดัชนีรวมของความปลอดภัยทางถนนในเด็กในเขตเทศบาล ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ
การบาดเจ็บ
คุณลักษณะพื้นฐาน
พฤติกรรม
เจตคติ
และนโยบายการบริหารจัดการ
ดังนั้นการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงควรให้นำ้หนักกับการแก้ปัญหาที่ตัวชี้วัดที่สำคัญที่มีการกล่าวถึงอย่างมากคือในด้านพฤติกรรมและเจตคติของเด็ก หมายถึง คุณลักษณะของจิตที่แสดงความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน -
อุบัติเหตุในเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน มี 4 สาเหตุสำคัญ (Morrongiello, Ondejko & Littlejohn, 2004) คือ
• นิสัยของเด็ก
• ร่างกายของเด็ก
• ผู้ปกครอง
• และสิ่งแวดล้อม -
1. ด้านนิสัยของเด็ก คือ
ธรรมชาติเด็กของความอยากรู้ อยากเห็น ตามพัฒนาการของเด็ก และมีระดับการตัดสินใจซึ่งยังอยู่ในระดับการติดสินใจที่ยึดอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก (emotional-based learning)
การให้เหตุผลในการตัดสินใจจึงยังเป็นการตัดสินใจเพื่อตอบสนองต่อความสนใจหรือความต้องการของตน หรือทำเพื่อคนที่รักมากกว่าการใช้หลักเหตุและผลประกอบการคิด ตามหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการทางสมอง (Tribune Brain) ของ Paul Maclean at al.
ทำให้การปฏิบัติตามกติกาของสังคม เช่น กฎจราจรกับเด็กจึงไม่น่าจะได้ผลต่อการรับรู้ของเด็กเล็ก อันเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการที่ชอบสำรวจ สัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ ได้ง่าย -
2. ด้านร่างกายของเด็ก
การประสานสัมพันธ์ทางร่างกายของเด็กยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เช่น
ความสามารถในการทรงตัว
การหลบหลีกเพื่อเลี่ยงต่อปัญหายังไม่คล่องตัว
แต่ความที่เด็กรักที่จะทำกิจกรรมที่ท้าทายต่อตนเอง มีความอยากรู้อยากเห็นสนใจสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย การเลียนแบบสถานการณ์เสี่ยงต่าง ๆ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงมักทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
การขึ้นและลงจากรถโดยไม่ระมัดระวัง
การข้ามถนนที่ไม่ระมัดระวัง
ไม่ข้ามตรงทางม้าลาย
ข้ามถนนโดยออกจากหน้ารถหรือหลังรถ
การลื่นล้มบนถนนเพราะความรีบร้อนหรือเหม่อลอย
และการที่เด็กมีมุมมองที่แคบถึง 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ ทำให้ไม่สามารถประเมินความเร็วของรถกับระยะทางได้อย่างแม่นยำเหมือนผู้ใหญ่
ไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงของรถมาจากทิศทางใด
มีทักษะการป้องกันตนเองบนท้องถนนที่จำกัด
จึงพบว่าเด็กเล็กประสบอุบัติเหตุมากเมื่อเทียบกับเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ (World Health Organization, 2015 อ้างถึงใน สสส., ม.ป.ป.)
นอกจากนี้ศีรษะเด็กขนาดใหญ่กว่าร่างกาย เด็กเล็กจึงล้มศีรษะกระแทกพื้นได้ง่าย -
เด็กวัยเรียน
จะมีความเสี่ยงจากภัยจากถนน คือ
• การบาดเจ็บจากการเดินถนน
• การใช้รถจักรยาน
• การโดยสารรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ -
3. ความประมาท เลินเล่อ
หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบิดามารดา
ผู้ปกครองหรือผู้ที่ดูแลเด็ก
เช่น
การปล่อยเด็กตามลำพัง
หรือผู้ใหญ่มักประเมินความสามารถของเด็กสูงเกินไป (ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, 2559 อ้างถึงใน สสส., ม.ป.ป.)
-
อุบัติเหตุในเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน มี 4 สาเหตุสำคัญ คือ
• นิสัยของเด็ก
• ร่างกายของเด็ก
• ผู้ปกครอง
• และสิ่งแวดล้อม ดังนี้คือ (Morrongiello, Ondejko & Littlejohn, 2004)
1) ด้านนิสัยของเด็ก คือ ธรรมชาติเด็กของความอยากรู้ อยากเห็น ตามพัฒนาการของเด็ก และมีระดับการตัดสินใจซึ่งยังอยู่ในระดับการติดสินใจที่ยึดอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก (emotional-based learning) การให้เหตุผลในการตัดสินใจจึงยังเป็นการตัดสินใจเพื่อตอบสนองต่อความสนใจหรือความต้องการของตน หรือทำเพื่อคนที่รักมากกว่าการใช้หลักเหตุและผลประกอบการคิด ตามหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการทางสมอง (Tribune Brain) ของ Paul Maclean at al. ทำให้การใช้กติกาของสังคม เช่น กฎจราจรกับเด็กจึงไม่น่าจะได้ผลต่อการรับรู้ของเด็กเล็ก อันเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการที่ชอบสำรวจ สัมผัสจับต้องสิ่งต่าง ๆ
2) ด้านร่างกายของเด็กและการประสานสัมพันธ์ทางร่างกายของเด็กยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เช่น ความสามารถในการทรงตัว หรือการหลบหลีกเพื่อเลี่ยงต่อปัญหาจึงยังไม่คล่องตัว แต่ความที่เด็กรักที่จะทำกิจกรรมที่ท้าทายต่อตนเอง มีความอยากรู้อยากเห็นสนใจสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย การเลียนแบบสถานการณ์เสี่ยงต่าง ๆ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงมักทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขึ้นและลงจากรถโดยไม่ระมัดระวัง การข้ามถนนที่ไม่ระมัดระวัง ไม่ข้ามตรงทางม้าลาย ข้ามถนนโดยออกจากหน้ารถหรือหลังรถ การลื่นล้มบนถนนเพราะความรีบร้อนหรือเหม่อลอย และการที่เด็กมีมุมมองที่แคบถึง 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ ทำให้ไม่สามารถประเมินความเร็วของรถกับระยะทางได้อย่างแม่นยำเหมือนผู้ใหญ่ ไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงของรถมาจากทิศทางใด มีทักษะการป้องกันตนเองบนท้องถนนที่จำกัด จึงพบว่าเด็กเล็กประสบอุบัติเหตุมากเมื่อเทียบกับเด็กที่โตกว่าหรือผู้ใหญ่ (World Health Organization, 2015 อ้างถึงใน สสส., ม.ป.ป.) นอกจากนี้ศีรษะเด็กขนาดใหญ่กว่าร่างกาย เด็กเล็กจึงล้มศีรษะกระแทกพื้นได้ง่าย